แผนบริหารการสอนประจำหน่วยการเรียนที่ 7
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หัวข้อเนื้อหาประจำหน่วยหน่วยที่ 7 ประกอบเนื้อหาที่มีหัวข้อดังต่อไปนี้
.....1. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
.....2. การสบค้นเนื้อหาจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
.....3. คำแนะนำในการใช้ Google
.....4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email)
.....5. กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web forum)
.....6. ห้องสมุดแหล่งข้อมูลความรู้
.....7. Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
.....8.แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายห้องสมุด
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อจบหน่วยการเรียนนี้นักศึกษาควรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังต่อไปนี้
.....1. สามารถอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
.....2. รู้วิธีการใช้งาน Google ผ่านเครือข่านอินเตอร์เน็ต
.....3. สามารถอธิบายการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้
.....4. สามารถใช้งานห้องสมุดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
.....5. ทราบถึงแหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
วิธีและกืจกรรมการเรียนการสอน
ในหน่วยการเรียนนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง จึงใช้กิจกรรมการเรียนการอสนดังนี้
.....1. การบรรยายประกอบสื่อ
.....2. การอภิปราย
.....3. การตอบคำถาม
.....4. การทำแบบฝึกหัด
.....5. การศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน
การวัดและการประเมินผล
วิธีวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนนี้มีต่อไปนี้
.....1. การสังเกตความสนใจ
.....2. การซักถามความเข้าใจ
.....3. การศึกษาค้นคว้า
.....4. การตรวจผลงานที่มอบหมาย
.....5.การทำแบบฝึกหัดท้ายบท
.....6. การสอบกลางภาคเรียน
.....7. การสอบปลายภาคเรียน
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
ความสำคัญ
ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system) จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด ระบบเครือข่ายที่อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างกันไม่มากนัก สายสัญญาณที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆตามลักษณะเครือข่าย และความต้องการในการใช้งาน
สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์และไม่มีชีลด์ (Shielded and UnShielded Twisted-Pair Cable)
เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สายเกลียวคู่หนึ่งจะแทนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้หนึ่งช่องทางสายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)เป็นสายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียวแต่มีราคาสูงกว่า ประกอบด้วยสวนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์และหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
ประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก มีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมา
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
ประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก มีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมา
ระบบไมโครเวฟ (Microwave system) ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง เรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) สถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30-50 กม.
ระบบดาวเทียม (Satellite systems) ใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ ใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ข้อเสียที่สำคัญคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ฝ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ระบบอื่น ๆ
ระบบอินฟาเรด (Infared)เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย - ระบบวิทยุ (Radio) ใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย - ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spread Spetrum) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่ถูกพัฒนาเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ